พจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยา
ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2524 ให้ความหมาย ของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมไว้ว่า
“การเปลี่ยนแปลงทางสังคม ระบบสังคม กระบวนการ แบบอย่างหรือรูปแบบทางสังคม
เช่น ขนบธรรมเนียมประเพณี ระบบครอบครัว ระบบการปกครอง ได้เปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็นด้านใดก็ตามการเปลี่ยนแปลงทางสังคมนี้
อาจเป็นไปในทางก้าวหน้าหรือถดถอย เป็นไปอย่างถาวรหรือชั่วคราว โดยวางแผนให้เป็นไป หรือเป็นไปเอง
และที่เป็นประโยชน์หรือให้โทษก็ได้ทั้งสิ้น”
การเปลี่ยนแปลงทางสังคมของสังคมไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
การเปลี่ยนแปลงทางสังคมนับตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงก่อนสมัยรัชกาลที่ 4 คนไทย มีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย เริ่มมีการติดต่อค้าขายกับต่างชาติ มีการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
อย่างค่อยเป็นค่อยไปจนกระทั่งสังคมไทยได้รับอิทธิพลจากอารยธรรมตะวันตกมากยิ่งขึ้น ในสมัยรัชกาลที่
4 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างรวดเร็ว ต่อมาได้มีการปฏิรูป
การปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5 ทำให้สังคมไทยเกิดกาเปลี่ยนแปลง แทบทุกด้าน
เช่น ด้านเศรษฐกิจ ด้านการปกครอง ด้านการศึกษา ด้านเทคโนโลยี เป็นต้น เมื่อกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในปัจจุบัน
จะเห็นได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลง เกือบทุกด้านโดยเฉพาะหลังจากที่ประเทศไทยได้ประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติ ตั้งแต่ พ.ศ. 2504 เป็นต้นมา
ที่ทาให้การเปลี่ยนแปลง ของสังคมไทย มีการกาหนดทิศทางเป้าหมายและแบบแผนมากขึ้น
ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
1. ปัจจัยภายใน
1.1 สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ
สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์
ลักษณะของพื้นที่ ตลอดจนความอุดม สมบูรณ์ของทรัพยากร ธรรมชาติเป็นปัจจัยที่ช่วยกำหนดการจัดระเบียบและสภาพต่างๆ
ในสังคม
1.2 การเปลี่ยนแปลงด้านประชากร
การเปลี่ยนแปลงเรื่องขนาดและการกระจายของประชากรทำให้เกิดการ
เปลี่ยนแปลงทางสังคม อาจเกิดการรับเอาวัฒนธรรมไปใช้ หรือเกิดการผสมผสานกับวัฒนธรรมเดิมของตน
2. ปัจจัยภายนอก
2.1 สังคมที่อยู่โดดเดี่ยวและสังคมที่มีการติดต่อสมาคม สังคมที่มีการติดต่อสมาคมกับบุคคลหรือกลุ่มต่างๆ
บ่อยครั้ง จะทำให้ มีการเปลี่ยนแปลงมากและรวดเร็วในทำนองเดียวกันสังคมที่อยู่โดดเดี่ยวจะมีการเปลี่ยนแปลงน้อย
มากหรือเกิดการคงที่ทางวัฒนธรรม
2.2 โครงสร้างของสังคมและวัฒนธรรม สังคมที่มีการแข่งขัน
จะมีการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมมากว่าสังคม ที่มีแบบแผน หรือโครงสร้างของสังคมวัฒนธรรมในแบบเดียวกัน
2.3 ทัศนคติและค่านิยมเฉพาะสังคม สังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอจะมีทัศนคติที่แตกต่างกันออกไป
ทัศนคติและค่านิยมเป็นปัจจัยที่ช่วยให้ทราบว่าการเปลี่ยนแปลงจะมีโอกาสเกิดขึ้นได้มากน้อยเพียงไร
เช่น ในสังคมที่ยึดมั่นขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมจะเป็นสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงน้อยและช้ามาก
ส่วนสังคมที่มีค่านิยมที่ส่งเสริมการยอมรับให้มีสิ่งใหม่ๆ ก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงง่ายและรวดเร็ว
2.4 ความต้องการที่รับรู้สิ่งใหม่ๆ
ความต้องการที่รับรู้สิ่งใหม่ๆ ของสมาชิกในสังคม เป็นปัจจัยที่ช่วยบอก
ทิศทางและอัตราการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เช่น เมื่อมีความต้องการที่แน่นอนจนเป็นที่ยอมรับของ
สังคมแล้วก็จะมีการตอบสนองต่อความต้องการนั้น ซึ่งส่งผลให้เกิดการาเปลี่ยนแปลง ทางสังคมในที่สุด
2.5 พื้นฐานทางวัฒนธรรม เมื่อพื้นฐานทางวัฒนธรรมเปลี่ยนไป
จะทำให้เกิดสิ่งใหม่ๆ เกิดขึ้น เช่นในปัจจุบันที่พื้นฐานทางวัฒนธรรมในด้านเทคโนโลยีหรือความรู้ทางวิทยาศาสตร์เจริญกว่า
ในอดีต ทำให้สามารถนำทรัพยากรธรรมชาติและแร่ธาตุต่างๆ มาใช้ในการผลิตสิ่งอำนวย ความสะดวกมากขึ้น
ซึ่งเป็นสาเหตุให้วิถีชีวิตของผู้คนในสังคมเปลี่ยนแปลงไป
รูปแบบการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
การเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เกิดขึ้นนั้นมีสาเหตุที่สาคัญมาจากการเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปตาม
ธรรมชาติประการหนึ่ง กับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากมนุษย์เป็นผู้กระทำอีกประการหนึ่ง
แต่ใน กระบวนการของการเปลี่ยนแปลงสามารถทำให้เกิดรูปแบบของการเปลี่ยนแปลง 2 แบบ ดังนี้
1. การเปลี่ยนแปลงแบบเส้นตรง เป็นการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่กล่าวว่า
ทุกสังคม จะมีวิวัฒนาการแบบเดียวกันตลอด โดยเปลี่ยนแปลงจากสังคมที่มีความเจริญของอารยธรรมขั้นต่ำ
ไปสู่สังคมที่มีความเจริญของอารยธรรมระดับสูงขั้นต่อไป
2. การเปลี่ยนแปลงแบบวัฎจักร เป็นการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ไม่มีความสม่ำเสมอ
สังคมจะมีจุดเริ่มต้นจากนั้นค่อยๆ เจริญก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ จนถึงที่สุดก็จะเสื่อมสลายไป
ซึ่งการเปลี่ยนแปลงลักษณะนี้เมื่อสังคมมีความเจริญถึงจุดสูงสุดแล้ว ก็จะค่อยๆ เสื่อมสลายลง
โดย ไม่ได้สูญหายไป แต่จะมีการปรับปรุงและเจริญขึ้นมาใหม่ เช่น สังคมของกรีก อียิปต์
จีน อินเดีย เป็นต้น
อุปสรรคในการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
การเปลี่ยนแปลงทางสังคมอาจไม่ได้รับการยอมรับเสมอไป
การเปลี่ยนแปลงบางอย่าง อาจได้รับการยอมรับเพียงบางส่วน หรือบางอย่างอาจไม่ได้รับการยอมรับเลย
ซึ่งอุปสรรค ในการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอาจสรุปได้ดังนี
1. การเห็นประโยชน์ของการเปลี่ยนแปลง
การเปลี่ยนแปลงจะไม่ได้รับการยอมรับ หากสมาชิกในสังคมไม่เห็นคุณค่า หรือประโยชน์ของการเปลี่ยนแปลงนั้น
ซึ่งการเปลี่ยนแปลงบางอย่างเกิดขึ้นจากการทดลอง เช่น การสื่อสารดาวเทียม เป็นต้น แต่บางเรื่องก็ไม่สามารถนำมาทดลองได้
เช่น ภูตผีปีศาจ วิญญาณ เป็นต้นสังคมจะยอมรับการเปลี่ยนแปลง เมื่อสิ่งต่างๆ เหล่านั้นแสดงให้เห็น
ถึงคุณประโยชน์ที่มีต่อสังคม
2. ความสอดคล้องกับวัฒนธรรมเดิม
สังคมจะยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเมื่อการเปลี่ยนแปลงนั้น มีความสอดคล้องกับวัฒนธรรมเดิมหรือช่วยให้สังคมพัฒนาดีขึ้น
โดยการเปลี่ยนแปลงนั้น ต้องไม่ขัดต่อวัฒนธรรมที่มีอยู่เดิมของสังคม ซึ่งสังคมจะยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
ถ้าสิ่งนั้นสอดคล้องกับการปฏิบัติเดิมของตน และมีการพัฒนาให้ดีขึ้นเพื่อประโยชน์ ในการนำไปใช้
3. กลุ่มรักษาผลประโยชน์
กลุ่มที่รักษาผลประโยชน์จะคัดค้านการเปลี่ยนแปลงถ้าพบว่าการเปลี่ยนแปลงนั้น
ทำให้เสียผลประโยชน์ของกลุ่ม แต่ในทางตรงกันข้าม กลุ่มจะให้การสนับสนุนถ้าพบว่า การเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นประโยชน์ต่อกลุ่ม
4. ตัวแทนการเปลี่ยนแปลง
ตัวแทนการเปลี่ยนแปลงที่มีอิทธิพลหรือมีอำนาจจะประสบผลสาเร็จมากว่า
ตัวแทนที่ไม่มีใครรู้จัก และหากตัวแทนการเปลี่ยนแปลงมีความเข้าใจและรู้จักวัฒนธรรมที่ตน
เข้าไปทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมใหม่และวัฒนธรรมเดิม
จะทำให้การเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นเป็นไปตามความคาดหมาย
ค่านิยมของสังคมไทย
ค่านิยมของสังคมไทย คือ
สิ่งที่มีความสนใจ ปรารถนาที่จะเป็นเหมือนผู้อื่น เป็นสิ่งที่ ทุกคนถือปฏิบัติ ค่านิยมบางอย่างขึ้นอยู่กับลักษณะของสังคม
สภาพแวดล้อมของสังคม สภาพสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลง โดยมีค่านิยมใหม่มาทดแทนอยู่ตลอดเวลา
ไม่มีที่สิ้นสุด สังคมไทยมีค่านิยมที่ดีและไม่ดี แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับทัศนคติของบุคคลหรือกลุ่มคน
ซึ่งมี ทั้งค่านิยมที่ดีและไม่ดี ดังแสดงในตาราง
ค่านิยมที่มีการยกย่อง
|
ค่านิยมที่ควรปรับปรุงแก้ไข
|
1. การเคารพเทิดทูนพระมหากษัตริย์
2. การนับถือศาสนา
3. ความเป็นไทย รักอิสระ เสรีภาพ
4. การยกย่องผู้ทาความดี และความ กตัญญูกตเวที
5. ความไม่ผูกพยาบาท คือ ยึดหลัก ศาสนา
6. การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
7. ประหยัด โดยการรู้จักจับจ่ายใช้สอย แต่สิ่งของที่
จำเป็น รู้จักประมาณ รายได้
และรายจ่ายได้
เหมาะสมกับ ฐานะของตนเอง
8. มีระเบียบวินัย เช่น การขับรถตามกฎ จราจร
9. การปฏิบัติตามหน้าที่ของตนเอง
10. ขยันขันแข็ง อดทน
11. เคารพผู้อาวุโส เช่น การรดน้าดาหัวใน วันสงกรานต์
|
1. ความเห็นแก่เงินและวัตถุ
2. การรักพวกพ้องในทางที่ผิด
3. ไม่ตรงต่อเวลา
4. รักความสนุกสนาน
5. ใช้อำนาจในทางที่ผิด
6. เชื่อถือโชคลางหรือชอบเสี่ยงโชค
โดยการเล่นการพนัน
7. อยากรู้อยากเห็นในเรื่องของผู้อื่น
8. พูดมากกว่าปฏิบัติ
9. มีความอิจฉาริษยา ไม่พอใจเมื่อมีใคร ดีกว่า
|
คำถามท้ายหน่วย
คำชี้แจง ให้นักเรียนทาเครื่องหมาย (×) หน้าข้อที่ผิดและทาเครื่องหมาย (√) หน้าข้อที่ถูกต้อง
..............1. สังคมไทยสมัยก่อนมีชีวิตที่เรียบง่ายมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมเป็นแบบ
ค่อยเป็นค่อยไป
..............2. ในสมัยรัชการที่ 3 ไทยมีการรับอารยธรรมตะวันตกเข้ามาอย่างมากทาให้เกิด การเปลี่ยนแปลง
ทางสังคมอย่างรวดเร็ว
..............3. ไทยมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมทุกด้านในสมัยรัชการที่
5
..............4. สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
..............5. การเปลี่ยนแปลงทางด้านประชากรเป็นปัจจัยภายในที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลง
ทางสังคม
..............6. ปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
คือ โครงสร้างของสังคม และวัฒนธรรม
..............7. ความต้องการที่รับรู้สิ่งใหม่ๆ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
..............8. การเปลี่ยนแปลงแบบวัฎจักรเป็นการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ไม่มีความสม่าเสมอ
..............9. ความเห็นแก่เงินและวัตถุคือค่านิยมที่มีการยกย่อง
..............10. ความไม่ผูกพยาบาท
การรักพวกพ้องในทางที่ผิด คือ ค่านิยมที่ควรปรับปรุงแก้ไข
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น