วันพุธที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2559

สังคมของเรา (โครงสร้างทางสังคม)

โครงสร้างทางสังคม 

โครงสร้างทางสังคม คือ ระบบความสัมพันธ์ของกลุ่มคนในสังคมที่มารวมตัวกัน เป็นกลุ่มสังคมซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
            1. กลุ่มปฐมภูมิ หมายถึง กลุ่มสังคมที่มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดสนิทสนมกัน เช่น ครอบครัว เพื่อนเล่น ชมรม สังคมชนบท
            2. กลุ่มทุติยภูมิ หมายถึง กลุ่มสังคมที่มีความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการ สัมพันธ์ เชิงพันธะสัญญา และมีความสัมพันธ์เฉพาะด้าน ติดต่อกันตามตำแหน่งหน้าที่การงาน เช่น บริษัท สังคม มูลนิธิ สังคมเมือง ครูกับนักเรียน นายจ้างกับลูกจ้าง
การจัดระเบียบทางสังคม
การจัดระเบียบทางสังคม หมายถึง กระบวนการทางสังคมที่จัดขึ้นเพื่อควบคุมสมาชิก
ให้มีความสัมพันธ์กันภายใต้แบบแผน และกฎเกณฑ์เดียวกัน เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยใน สังคม
สาเหตุของการจัดระเบียบสังคม
1. เพื่อให้เกิดการติดต่อสัมพันธ์กันทางสังคมเป็นไปอย่างเรียบร้อย
2. เพื่อป้องกันความขัดแย้งระหว่างสมาชิกในสังคม
3. ช่วยให้สังคมดำรงอยู่อย่างสงบสุขและมั่นคงในสังคม
องค์ประกอบของหลักการจัดระเบียบทางสังคม
1. บรรทัดฐานทางสังคม
บรรทัดฐานทางสังคม คือ แบบแผน กฎเกณฑ์ ข้อบังคับ ในการปฏิบัติของคนในสังคม เป็นสิ่งที่ทุกคนยอมรับ 3 ประการ คือ
1.1 วิถีประชาหรือวิถีชาวบ้าน คือ แบบแผนความประพฤติที่สมาชิกปฏิบัติ ด้วยความเคยชิน และเป็นที่ยอมรับในสังคม ผู้ที่ละเลยไม่ปฏิบัติตามจะได้รับการติเตียน หรือนินทา เช่น การรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น ควรใช้ช้อนกลาง หากไม่ใช้ช้อนกลาง อาจถูกตำหนิว่าเป็นผู้ ไม่มีมารยาท มารยาทในการเข้าแถว เป็นต้น
1.2 จารีต คือ แบบแผนความประพฤติที่สมาชิกปฏิบัติโดยเคร่งครัด หากฝุาฝืน
จะถูกสังคมลงโทษหรือตำหนิอย่างรุนแรง เช่น การที่ลูกแสดงอาการขาดความเคารพต่อพ่อแม่ ถือ เป็นการกระทาที่ผิดจารีตจะถูกคนในสังคมลงโทษและทอดทิ้ง ไม่เลี้ยงดูพ่อ-แม่ ยามแก่เฒ่า เป็นต้น
1.3 กฎหมาย คือ กฎเกณฑ์หรือข้อบังคับที่รัฐบัญญัติขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร โดยองค์การทางการเมือง การปกครอง โดยได้รับการรับรองจากองค์กรของภาครัฐ หากฝุาฝืน
จะถูกลงโทษตามบทกฎหมาย เช่น การฆ่าคนตาย การทำร้ายร่างกาย หรือการทิ้งขยะใน ที่สาธารณะเป็นต้น เป็นต้น
2. สถานภาพ
สถานภาพ หมายถึง ตำแหน่งของบุคคลที่สังคมกำหนดขึ้น หรือได้รับจากการ เป็นสมาชิกของสังคม เป็นปัจจัยที่ช่วยในการจัดระเบียบของสังคม และเป็นตัวกำหนด
บุคคลให้รู้จักหน้าที่และความรับผิดชอบ
ลักษณะของสถานภาพ
1. เป็นสิ่งเฉพาะบุคคลที่ทำให้แตกต่างไปจากผู้อื่น เช่น อารีย์เป็นนักเรียน สมชาติเป็นตำรวจ เป็นต้น
2. บุคคลหนึ่งอาจมีหลายสถานภาพ เช่น สมชาติเป็นตำรวจเป็นพ่อ และเป็นข้าราชการ
3. เป็นสิทธิและหน้าที่ทั้งหมดที่บุคคลมีอยู่ในการติดต่อกับผู้อื่น และสังคมส่วนรวม
4. เป็นตัวกำหนดว่าบุคคลนั้นมีหน้าที่และความรับผิดชอบอย่างไรในสังคม
สถานภาพ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. สถานภาพที่ติดตัวมาโดยสังคมเป็นผู้กำหนด เช่น เพศ อายุ เชื้อชาติ เครือญาติ
2. สถานภาพที่ได้มาโดยความสามารถ ได้แก่ การประกอบอาชีพ การศึกษา การสมรส
3. บทบาท
บทบาท หมายถึง การปฏิบัติตามหน้าที่และการแสดงพฤติกรรมตามสถานภาพ
เป็นตัวกำหนดพฤติกรรม และคาดหมายให้บุคคลกระทำ เช่น นายสมชายมีสถานภาพเป็นพ่อ
มีบทบาทในการอบรมเลี้ยงดูบุตร นายเจริญฤทธิ์มีสถานภาพเป็นหมอ มีบทบาทในการรักษา
ผู้ป่วย เป็นต้น
4. การควบคุมทางสังคม
การควบคุมทางสังคม คือ กระบวนการต่างๆ ทางสังคม ที่มุ่งหมายให้สมาชิก
ของสังคมยอมรับและปฏิบัติตามบรรทัดฐานของสังคม เช่น กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ศีลธรรม และจารีตประเพณี ความเป็นระเบียบของสังคมเกิดขึ้นส่วนหนึ่งเพราะสังคม
ใช้มาตรการต่างๆ ควบคุมพฤติกรรมของบุคคล ทั้งที่ปรากฏออกมาภายนอก คือ การกระทำ
ต่างๆ และที่อยู่ภายในจิตใจของบุคคล เช่น คุณค่าและทัศนคติต่อสิ่งต่างๆ ดังนี้
4.1 การควบคุมทางสังคมโดยการจูงใจให้สมาชิกปฏิบัติตามบรรทัดฐานทางสังคม
ได้แก่ การยกย่อง ชมเชย ให้รางวัลแก่ผู้ที่ปฏิบัติตามบรรทัดฐานทางสังคม ตามสถานภาพ และบทบาททางสังคมที่ตนดำรงอยู่ เช่น เด็กๆ ที่ปฏิบัติ ตามคำสั่งสอนของบิดามารดา จะได้รับคำชมเชยว่าเป็นเด็กดี ทาให้เกิดกำลังใจ ที่จะปฏิบัติตามบรรทัดฐานทางสังคม
4.2 การควบคุมทางสังคมโดยการลงโทษสมาชิกที่ละเมิด ฝ่าฝืนบรรทัดฐาน ทางสังคม ได้แก่
- ผู้ที่ละเมิดฝ่าฝืนวิถีชาวบ้าน จะได้รับปฏิกิริยาต่างๆ จากสมาชิกผู้อื่น ได้แก่ การติฉินนินทา การเยาะเย้ย เช่น ผู้ที่แต่งกายผิดบรรทัดฐานทางสังคม จะได้รับการว่ากล่าวจากผู้อื่นว่า เป็นผู้แต่งกายไม่สุภาพ เป็นต้น
- ผู้ที่ละเมิดฝ่าฝืนจารีต จะได้รับการต่อต้านจากสมาชิกผู้อื่นรุนแรงกว่า ผู้ที่ละเมิดวิถีชาวบ้าน เช่น การประชาทัณฑ์ หรือขับไล่ออกไปจากท้องถิ่น เป็นต้น
- ผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมาย จะได้รับการลงโทษตามที่กฎหมายกำหนด
สถาบันทางสังคม
สถาบันทางสังคม หมายถึง แบบแผนในการคิด การกระทำที่คนในสังคมยึดถือ ยอมรับและประพฤติปฏิบัติสืบต่อกันมาภายใต้กฎเกณฑ์ของสังคม เพื่อตอบสนอง ความต้องการพื้นฐานของสมาชิกในสังคม และกำหนดสถานภาพและบทบาทของบุคคล ต่างๆ เช่น สถาบันครอบครัว มีหน้าที่ให้กำเนิดชีวิตใหม่ และให้ความรักความอบอุ่น แก่สมาชิกของครอบครัว พ่อและแม่มีบทบาทหน้าที่ในการเป็นผู้อบรม และดูแลลูกเพื่อให้ เป็นสมาชิกที่ดีของสังคมต่อไป สถาบันทางสังคมจึงเกิดขึ้นจากความต้องการของสมาชิก ในสังคม จะดำรงอยู่หรือสูญสิ้นไปก็ได้ แต่เนื่องจากสถาบันทางสังคมเป็นที่ยอมรับ ของสังคมส่วนใหญ่ จึงมักไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงหรือเปลี่ยนแปลงได้ยาก

บทบาทของสถาบันทางสังคม
สถาบันทางสังคมของไทยมีหลายสถาบัน สถาบันพื้นฐานที่สาคัญ ได้แก่ สถาบันครอบครัวสถาบันการศึกษา สถาบันศาสนา สถาบันการเมืองการปกครอง และสถาบันเศรษฐกิจ
1. สถาบันครอบครัว
สถาบันครอบครัว เป็นสถาบันพื้นฐานของสังคมไทย ซึ่งเกิดจากกลุ่มคน ตั้งแต่สองคนขึ้นไปมีความสัมพันธ์กันทางการสมรส ทางสายโลหิต หรือการรับเอาไว้ เป็นบุตรบุญธรรม รวมทั้งการรับบุคคลอื่น เช่น ญาติ และคนรับใช้มาอาศัยอยู่ร่วมกัน เป็นสถาบันที่ใกล้ชิดและมีอิทธิพลโดยตรงในการอบรมขัดเกลาให้สมาชิกมีบุคลิกภาพดี และมีการปรับตัวที่เหมาะสมเพื่อเป็นสมาชิกที่ดีในสังคม
หน้าที่ของสถาบันครอบครัว
1. สร้างสรรค์สมาชิกใหม่ให้แก่สังคม เพื่อทดแทนสมาชิกที่เสียชีวิตไปและช่วยให้สังคมดำรง อยู่ได้
2. เลี้ยงดูและอบรมสมาชิกของครอบครัว เพื่อให้สมาชิกได้รับความปลอดภัย และเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ
3. อบรมสั่งสอนให้รู้ระเบียบแบบแผนและโครงสร้างของสังคม เพื่อให้สมาชิก สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
4. ให้ความรักและความอบอุ่นด้วยความบริสุทธิ์ใจ เพื่อให้สมาชิกมีกำลังใจในการต่อสู้กับ อุปสรรคต่างๆ
5. กำหนดสถานภาพทางสังคมให้แก่สมาชิก เพื่อให้สมาชิกแต่ละคนเรียนรู้บทบาท ของตนในด้านต่างๆ
บทบาทของสมาชิก
สมาชิกในครอบครัวต้องมีบทบาทไปตามสถานภาพของตน เช่น พ่อแม่มีบทบาท ในการเลี้ยงดูและอบรมสั่งสอน ให้ความรักความเมตตา และให้กำลังใจแก่ลูก ส่วนลูกมีบทบาท คือ รักและเคารพ เชื่อฟังพ่อแม่ มีความกตัญญูกตเวที

2. สถาบันการศึกษา
สถาบันการศึกษาเป็นสถาบันที่จาเป็นสำหรับการพัฒนามนุษย์ต่อจากสถาบัน ครอบครัวโดยให้การศึกษาแก่สมาชิกในสังคม มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้สมาชิกในสังคมเป็นบุคคล ที่มีคุณภาพ มีความรู้ความสามารถ มีคุณธรรมและจริยธรรม และสามารถทาประโยชน์ ให้กับสังคม ตลอดจนสามารถดำรงชีวิตร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
หน้าที่ของสถาบันการศึกษา
1. ให้ความรู้ ความสามารถ และทักษะแก่บุคคล โดยมุ่งเน้นที่การให้ผู้เรียนคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น และสามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่ได้ด้วยตนเอง
2. อบรมสมาชิกให้มีคุณธรรม จริยธรรม และเป็นคนดีของสังคม
3. สอนและฝึกอาชีพให้แก่สมาชิก เพื่อนำความรู้ไปประกอบอาชีพและพัฒนาอาชีพสาหรับ การดำรงชีวิตในอนาคต
4. อนุรักษ์และส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงาม
5. เป็นแหล่งความรู้ที่สำคัญเพื่อการพัฒนาและถ่ายทอดความรู้ให้แก่สมาชิก
บทบาทของสมาชิก
สมาชิกในสถาบันการศึกษามีบทบาทไปตามสถานภาพและตาแหน่งต่างๆ เช่น ผู้อำนวยการโรงเรียนมีบทบาทในการบริหารการศึกษาของโรงเรียน ครูมีบทบาทในการสั่งสอนอบรม ให้ศิษย์มีความรู้ และเป็นพลเมืองดีของสังคม ส่วนนักเรียนมีบทบาทในการตั้งใจเล่าเรียน เชื่อฟังคำอบรมสั่งสอนของครู เป็นต้น

3. สถาบันศาสนา
สถาบันศาสนา เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม ก่อให้เกิดแบบแผนหรือแนวทาง ในการปฏิบัติตนของสมาชิก ซึ่งประกอบด้วยความเชื่อ ความรู้สึกทางอารมณ์ พฤติกรรม ที่แสดงออกอย่างถูกต้อง งดงาม และเหมาะสม
สถาบันศาสนามีรูปแบบที่สาคัญ ได้แก่ พิธีกรรม หลักความเชื่อ หลักธรรมคาสอน
และสัญลักษณ์ทางศาสนา
หน้าที่ของสถาบันศาสนา
1. ช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างสมาชิก ทาให้เกิดความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด
2. จัดประเพณีและวัฒนธรรมทางศาสนา เช่น การบรรพชาอุปสม การทำบุญ เป็นต้น
3. อบรมศีลธรรมให้แก่สมาชิกของสังคม และเป็นพื้นฐานของหลักจริยธรรม
4. เป็นแบบอย่างของความประพฤติที่ดีให้แก่สมาชิก ฝึกให้สมาชิกมีระเบียบวินัย มีหลักปฏิบัติที่ถูกต้องเหมาะสมในการดำเนินชีวิต ก่อให้เกิดพฤติกรรม ที่มีคุณประโยชน์ต่อสังคม
5. เป็นพื้นฐานสาคัญของอำนาจรัฐ เช่น ในระบบการปกครองที่ไม่มีการแยกอาณาจักร ออกจากศาสนจักร โดยยอมให้ศาสนจักรเป็นใหญ่ หรือในบางสังคมที่ยอมให้ ผู้นำศาสนาเป็นผู้นำทางการเมืองด้วย
บทบาทของสมาชิก
สมาชิกของสถาบันศาสนามีบทบาทตามสถานภาพต่างๆ เช่น นักบวชและพระสงฆ์ มีบทบาทในการสอนให้เป็นคนดี ละเว้นความชั่ว รู้จักบาปบุญคุณโทษ ฆราวาสมีบทบาท ในการปฏิบัติตนให้อยู่ในศีลธรรม เป็นต้น

4. สถาบันการเมืองการปกครอง
สถาบันการเมืองการปกครอง เป็นสถาบันที่กำหนดบทบาทในการจัดการทางสังคม
ประกอบด้วยกลุ่มคนหรือองค์กรทางสังคมที่มีหน้าที่รักษาความสงบสุข และความมั่นคงของชาติเพื่อ ช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ช่วยป้องกันหาและปราบปราม ช่วยวางแผนและกำหนดนโยบาย
ของส่วนรวม ให้หลักประกันคุ้มครองเสรีภาพของบุคคล และสร้างความมั่นคงให้กับชีวิต
หน้าที่ของสถาบันการเมืองการปกครอง
1. ให้หลักประกันในเรื่องสิทธิและเสรีภาพแก่สมาชิกของสังคม เพื่อคุ้มครองสมาชิก ให้ปลอดภัย สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
2. ป้องกันและระงับข้อพิพาท สร้างความยุติธรรมระหว่างสมาชิก โดยการบังคับ ใช้กฎหมายในการตัดสินกรณีพิพาทต่างๆ
3. รักษาความมั่นคงและความสงบเรียบร้อยของสังคมโดยการบัญญัติกฎหมายขึ้น ใช้และควบคุมให้มีการปฏิบัติตามกฎหมาย
4. ป้องกันสมาชิกไม่ให้ถูกรุกรานจากภายนอก โดยสร้างความร่วมมือกับสังคมอื่น และความร่วมมือระหว่างประเทศ 
บทบาทของสมาชิก
สมาชิกของสถาบันการเมืองการปกครองมีบทบาท เช่น นายกรัฐมนตรีมีบทบาท ในการเป็นผู้นำฝ่ายรัฐบาล มีหน้าที่ควบคุมดูแลการทำงานของคณะรัฐมนตรี ส่วนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร มีบทบาทในการตรวจสอบการทำงานของฝ่ายรัฐบาล สำหรับประชาชนมีบทบาท คือ รักษาสิทธิเสรีภาพของตนเอง และปฏิบัติตามกฎหมาย อย่างเคร่งครัด

5. สถาบันเศรษฐกิจ
สถาบันเศรษฐกิจเป็นสถาบันที่สนองความต้องการของสมาชิกในด้านปัจจัย 4 และการบริการในด้านสิ่งอานวยความสะดวกต่างๆ ในการดำเนินชีวิต สถาบันเศรษฐกิจเป็นระบบหรือแบบแผนของการคิด และวิธีการทางด้านการผลิต และการบริโภค ตลอดจนให้ความสะดวกในกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
หน้าที่ของสถาบันเศรษฐกิจ
1. จัดสรรและกระจายทรัพยากรทางเศรษฐกิจ เพื่อตอบสนองความต้องการของสมาชิก เช่น มีการผลิตการแบ่งปันวัสดุหรือบริการแก่สังคม
2. พัฒนาและสร้างความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจให้มีประสิทธิภาพ เพื่อความอุดมสมบูรณ์และความมั่นคงแก่สมาชิก
3. ช่วยเหลือในการบริโภคให้เป็นไปได้อย่างพอเพียงและทั่วถึง
4. ให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ผลิตและผู้บริโภค
5. เป็นองค์ประกอบที่สาคัญในการสร้างรากฐานทางการเมือง
บทบาทของสมาชิก
สมาชิกของสถาบันเศรษฐกิจมีบทบาทตามสถานภาพ เช่น ผู้จัดการมีบทบาท ในการบริหารและรับผิดชอบบริษัทห้างร้านให้ดีที่สุด ชาวนาชาวไร่มีบทบาทในการผลิตสินค้าทางการเกษตรเพื่อสนองตอบความต้องการของผู้บริโภค สาหรับเยาวชนที่มีสถานภาพ เป็นผู้บริโภคหรือผู้รับบริการมีบทบาทในการรักษาสิทธิของผู้บริโภค เป็นต้น



คำถามหน่วยที่ 1  สังคมของเรา  (ทำในสมุด)
ตัวชี้วัดช่วงชั้น            วิเคราะห์ความสำคัญของโครงสร้างทางสังคม การขัดเกลาทางสังคม และการเปลี่ยนแปลงทางสังคม (ส 2.1 ม. 4–6/2)
ตอนที่ 1 คำชี้แจง ให้นักเรียนจับคู่ข้อที่มีความสัมพันธ์กัน
...............1. สังคมกลุ่มปฐมภูมิ                                                            ก. การใช้ช้อนกลาง
...............2. สังคมกลุ่มทุติยภูมิ                                                            ข. กฎหมาย
...............3. เกิดขึ้นเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสังคม                ค. ครูกับนักเรียน        
...............4. แบบแผนกฎเกณฑ์ ข้อบังคับ                                           ง. จารีต
...............5. วิถีประชา                                                                          จ. สถานภาพ
...............6. สมาชิกต้องปฏิบัติโดยเคร่งครัด                                       ฉ. การศึกษา
...............7. กฎหรือข้อบังคับที่รัฐบัญญัติขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษรของรัฐ       ช. ครอบครัว
...............8. ตำแหน่งของบุคคลที่สังคมกำหนดขึ้น                            ซ. บรรทัดฐานทางสังคม
...............9. สถานภาพที่ได้มาโดยความสามารถ                                 ฌ. การควบคุมทางสังคม
...............10. กระบวนการต่างๆ ทางสังคมที่มุ่งหมายให้สมาชิกของสังคมยอมรับและปฏิบัติตาม                                                                                       ญ. การจัดระเบียบทางสังคม

ตอนที่ 2 คำชี้แจง ให้นักเรียนนำคำที่อยู่ในกรอบเติมหน้าข้อความที่ถูกต้อง (ใส่สมุด)

สถาบันทางสังคม              สถาบันครอบครัว                  หน้าที่ของสถาบันครอบครัว
บทบาทของสมาชิกครอบครัว               สถาบันการศึกษา               หน้าที่ของสถาบันการศึกษา
บทบาทของครูผู้สอน                    สถาบันศาสนา                   หน้าที่ของสถาบันศาสนา
หน้าที่ของสถาบันเศรษฐกิจ

1. ...............หมายถึง การกระทาที่คนในสังคมยึดถือและปฏิบัติสืบต่อกันมาภายใต้ กฎเกณฑ์
                                 ของสังคม
2. ...............พ่อแม่ต้องเลี้ยงดูและอบรมสั่งสอนบุตร
3. ...............ให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ผลิตและผู้บริโภค
4. ...............อบรมศีลธรรมให้แก่สมาชิกของสังคม
5. ...............ให้การสั่งสอนอบรมให้ศิษย์มีความรู้
6. ...............เป็นสถาบันที่จาเป็นสาหรับการพัฒนามนุษย์
7. ...............สถาบันพื้นฐานซึ่งเกิดจากลุ่มคนตั้งแต่สองคนขึ้นไปมีสัมพันธ์กันทางการสมรส
8. ...............ก่อให้เกิดแบบแผนหรือแนวทางในการปฏิบัติตน
9. ...............เป็นแหล่งความรู้ที่สาคัญเพื่อการพัฒนาและถ่ายทอดความรู้แก่สมาชิก
10. ...............จัดสรรสมาชิกใหม่ให้แก่สังคม

ตอนที่ 3 คำชี้แจง ตอบคำถาม (ใส่กระดาษรายงาน)
1. โครงสร้างทางสังคมหมายถึงอะไร

2. ลักษณะของโครงสร้างทางสังคมประกอบด้วยอะไรบ้าง
3. กลุ่มเพื่อนของนักเรียนจัดเป็นกลุ่มสังคมได้หรือไม่ อย่างไร
4. สถาบันครอบครัวมีหน้าที่อะไรบ้าง
5. นักเรียนคิดว่าหากไม่มีสถาบันทางศาสนาสังคมจะเป็นอย่างไร



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 
Blogger Templates